มท. ประกาศผลการประกวดสุดยอดผลงานผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายขิดนารีรัตนราชกัญญา” และงานหัตกรรม รอบตัดสินระดับประเทศ
ผลงาน “วีรธรรม ตระกูลไทย” กลุ่มจันทร์โสมา จังหวัดสุรินทร์ คว้ารางวัล the best of the best และ “วิทวัส โสภารักษ์” กลุ่มแพรวาโสภารักษ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ คว้ารางวัลสีธรรมชาติยอดเยี่ยม
เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงมหาดไทยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จเป็นองค์ประธานคณะกรรมการตัดสินการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายขิดนารีรัตนราชกัญญา” และงานหัตกรรม รอบตัดสินระดับประเทศ เมื่อวันที่ 31 ต.ค. 65 ณ ห้องเจ้าพระยา หอประชุมกองทัพเรือ ถนนอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
โดยมีคณะกรรมการประกวดผ้าลายพระราชทาน ซึ่งได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไทย แฟชั่นดีไซน์ และการย้อมสีธรรมชาติ ได้แก่ ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ ราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ท่านผู้หญิงภรณี มหานนท์ รองราชเลขานุการในพระองค์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง อาจารย์เผ่าทอง ทองเจือ ผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไทย นางรติรส จุลชาต รองประธานกรรมการ บริษัท ไอริส 2005 จำกัด นางศรินดา จามรมาน นักวิชาการอิสระ นายธนันท์รัฐ ธนเสฏฐการย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไทย และผู้เชี่ยวชาญการย้อมสีธรรมชาติ
ดร.ณ ฤดี เคียงศิริ รองประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ นายกุลวิทย์ เลาสุขศรี บรรณาธิการบริหารนิตยสาร VOGUE ประเทศไทย นายศิริชัย ทหรานนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไทย เจ้าของแบรนด์ THEATRE นายพลพัฒน์ อัศวะประภา นักออกแบบเจ้าของแบรนด์ ASAVA นายภูภวิศ กฤตพลนารา นักออกแบบเจ้าของแบรนด์ ISSUE นายวิชระวิชญ์ อัครสันติสุข นักออกแบบเจ้าของแบรนด์ WISHARAWISH ผศ.ดร.อนุชา ทีรคานนท์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นายนุวัฒน์ พรมจันทึก ช่างต้นแบบสิ่งทอ กรมหม่อนไหม ดร.กรกลด คำสุข รองคณบดีฝ่ายนวัตกรรมทางปัญญา และวิจัย วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผศ.ดร.รวิเทพ มุสิกะปาน ประธานหลักสูตรแฟชั่น สิ่งทอ และเครื่องตกแต่ง วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
“สำหรับผลงาน “ผ้าลายขิดนารีรัตนราชกัญญา” ที่ผ่านเข้ารอบตัดสินระดับประเทศ ประกอบด้วย ผลงานประเภทผ้า จำนวน 61 ผืน และงานหัตถกรรม จำนวน 10 ชิ้น ซึ่งผู้เข้าประกวดได้นำเสนอแนวคิด เทคนิค และวิธีการทอผ้า ย้อมสีผ้า ด้วยความมุ่งมั่น โดยผลงานทุกชิ้น ล้วนเป็นสุดยอดผลงานผ้าไทยลายขิดนารีรัตนราชกัญญา พี่ผ่านการรังสรรค์ ความตั้งใจ ความใส่ใจ ในการถักทอด้วยระยะเวลานาน แต่อุปสรรคปัญหาทั้งหลายต่างกลายเป็นความทุ่มเทในการสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อบรรลุความต้องการของผู้เข้าประกวดทุกคน ที่มีความมุ่งมาดปรารถนาในการน้อมนำลายผ้าพระราชทาน “ผ้าลายขิดนารีรัตนราชกัญญา” มาผลิตเป็นผลงานอันทรงคุณค่า และทุกคนต่างมีความตื้นตันใจที่ได้รับพระเมตตาจากพระองค์ ทรงเป็นประธานกรรมการตัดสินและต่างดีใจที่ได้นำเสนอผลงานเบื้องหน้าพระพักตร์ของพระองค์ท่าน”
นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า สำหรับผลการตัดสินการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายขิดนารีรัตนราชกัญญา” และงานหัตกรรม รอบตัดสินระดับประเทศ มีดังนี้
รางวัลพิเศษ มีผู้ได้รับรางวัล คือ
1.รางวัล The Best of Best ได้แก่ นายวีรธรรม ตระกูลไทย กลุ่มจันทร์โสมา จังหวัดสุรินทร์ ประเภทผ้ายก/ยกเล็ก (ไหมยกดิ้น)
2.รางวัลสีธรรมชาติยอดเยี่ยม ได้แก่ นายวิทวัส โสภารักษ์ กลุ่มแพรวาโสภารักษ์ ประเภทแพรวา จังหวัดกาฬสินธุ์จ
3.รางวัลลวดลายตามแบบพระราชทานยอดเยี่ยม ได้แก่ นายวันเฉลิม ศรีภุยเดช เฮือนไหมมนัสวรรณ ไหมแท้ที่แม่ทอ จังหวัดอุดรธานี
4.Young OTOP ได้แก่ ประเภทผ้ามัดหมี่ 3 ตะกอ นายศุภกิจ บุญมีเลี้ยง กลุ่มเยาวชนอนุรักษ์ผ้าไหมปูมโบราณบ้านโนนนสง่า (Young OTOP)
และรางวัลประเภทผ้า และหัตถกรรม 13 ประเภท คือ
- ประเภทผ้ามัดหมี่ 2 ตะกอ
– รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ พระชาญชัย สุเมโธ กลุ่มทอผ้าวัดโนนสว่าง จังหวัด อุดรธานี
– รางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่ นางกัลยา รัตนประเสริฐ กลุ่มสตรีทอผ้ามัดหมี่บ้านหนองบัวเพวัง จังหวัดชัยภูมิ
– รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นางสมใจ คงชัยภูมิ กลุ่มทอผ้าไหม ศูนย์ศิลปชีพทุ่งกะมังบ้านหนองหอย จังหวัดชัยภูมิ
- ประเภทผ้ามัดหมี่ 3 ตะกอ ขึ้นไป
– รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นางสาวทัศนีย์ สุรินทรานนท์ กลุ่มเรือนไหม-ใบหม่อน จังหวัดสุรินทร์
– รางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่ นายอ่อนสี อินทร์เพ็ง จังหวัดสุรินทร์
– รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นายสุระชัย นาสูงชน ร้านเมืองไหม จังหวัดขอนแก่น
- ประเภทผ้าขิด
– รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นายพูลสวัสดิ์ จันทร์บุญ กลุ่มทอผ้าไหมหมี่ขิด จังหวัดอุดรธานี
– รางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่ นางลำดวน นามบุตร กลุ่มทอผ้าไหมหมี่ขิด จังหวัดอุดรธานี
– รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นางเสงี่ยมจิต จันทร์บุญ จังหวัดอุดรธานี
- ประเภอผ้าจก
– รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นางณัฐธภา ทิพย์วัจนะ ณัฐธภาผ้าจกทอมือ จังหวัดราชบุรี
– รางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่ นางจีรนันท์ มูลน้ำอ่าง ผ้าทอบ้านน้ำอ่าง จังหวัดอุตรดิตถ์
– รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นางสาวศิรินทิพย์ วงศ์หมุด คุณหญิงผ้าทอน้ำอ่าง จังหวัดอุตรดิตถ์
- ประเภทผ้ายก/ยกเล็ก (ไหมยกดิ้น)
– รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นายวีรธรรม ตระกูลเงินไทย กลุ่มจันทร์โสมา จังหวัดสุรินทร์
– รางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่ นางสาวขวัญฤทัย บุญมา กลุ่มขวัญไหมไทย จังหวัดลำพูน
– รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นางอมรา ทาสัก กลุ่มอมราผ้าฝ้ายผ้าไหมยก จังหวัดลำพูน
- ประเภทผ้ายกแบบมีสังเวียน ไหมยกไหม หรือไหมยกดิ้นที่มีสังเวียน
– รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นายอดุลย์ มุลละชาติ กลุ่มไหมสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์
– รางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่ นางดารณี ใจตื้อ กลุ่มดารณีไหมไทย จังหวัดลำพูน
– รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นางสาวนันทภัต พงษ์ไชยยา ศูนย์การเรียนรู้และอนุรักษ์การทอผ้าไหมยกดอกลำพูน จังหวัดลำพูน
- ประเภทหมี่ข้อ/หมี่คั่น
– รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นายเนติพงษ์ กระแสโสม กลุ่มอาชีพทอเสื่อกกและทอผ้ามัดหมี่ จังหวัดชัยภูมิ
– รางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่ นางสมใจ คงชัยภูมิ กลุ่มทอผ้าไหมศูนย์ศิลปชีพทุ่งกะมังบ้านหนองหอย จังหวัดชัยภูมิ
– รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นางชนิกา สมอเผื่อน กลุ่มทอผ้าไหมบ้านแฝก-โนนสำราญ จังหวัดนครราชสีมา
- ประเภทผ้าบาติก/มัดย้อม
– รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นางสาวชญาชล ทองเกียว กลุ่มบ้านรักเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช
– รางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่ นายปิยะ สุวรรณพฤกษ์ กลุ่มศรียะลาบาติก จังหวัดยะลา
– รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นางจันทิมา สุขเมตตา กลุ่มมีดีนาทับ ผ้ามัดย้อมบาติกเพ้นท์ จังหวัดสงขลา
- ประเภทผ้าแพรวา
– รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นายวิทวัส โสภารักษ์ กลุ่มแพรวาโสภารักษ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
– รางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่ นายอดุลย์ มุลละชาติ กลุ่มไหมสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์
– รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นางอัมพร โสภารักษ์ กลุ่มแพรวาโสภารักษ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
ประเภทผ้าซิ่นกลุ่มชาติพันธ์ลาวเวียง ลาวครั่ง
– รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นายชญทรรศ วิเศษศรี กลุ่มแต้มตะกอ (กลุ่มสตรีทอผ้าไหมลายโบราณบ้านโค่กหม้อ) จังหวัดอุทัยธานี
– รางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่ นายสมประสงค์ กาฬภักดี กลุ่มทอผ้าไหมลายโบราณวังคอไห จังหวัดชัยนาท
– รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นางสาวสมบัติ ยอดสง่า กลุ่มทอผ้าลายโบราณ (สมบัติ) จังหวัดอุทัยธานี
- ประเภทผ้าเทคนิคสร้างสรรค์
– รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นางนภา สุยะใหญ่ กลุ่มทอผ้าไทลื้อบ้านธิ ลำพูน จังหวัดลำพูน
– รางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่ นายศรันยู ศรีใส จังหวัดอุบลราชธานี
– รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นายสุระชัย หลงสิม กลุ่มชนบท จังหวัดขอนแก่น
- ประเภทผ้าเทคนิคผสมเทคนิคพื้นเมือง
– รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นายมีชัย แต้สุจริยา บ้านคำปุน จังหวัดอุบลราชธานี
– รางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่ นางสำราญ พรมบุตร เทคนิคโสร่ง/ผ้าขาวม้า จังหวัดร้อยเอ็ด
– รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นายไวพจน์ ดวงจันทร์ กลุ่ม ธ.มณโฑ จังหวัดอุดรธานี
- ประเภทหัตถกรรม
– รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นางพนิดา แต้มจันทร์ ศ.หลังสวนเบญจรงค์ จังหวัดชุมพร
– รางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่ นางสาวฉัตรกนก ขุนทน กลุ่มมัดย้อมสีธรรมชาติบ้านคีรีวง จังหวัดนครศรีธรรมราช
– รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นายนพดล สดวกดี จังหวัดสิงห์บุรี
นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงมหาดไทยขอแสดงความยินดีกับทุกท่านที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นสุดยอดผลงานผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายขิดนารีรัตนราชกัญญา” ประจำปีนี้ ซึ่งทุกท่านจะได้เข้ารับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ในงานเทศกาลไหมไทย 2565 (Thai Silk Festival 2022) ในวันที่ 17 ธันวาคม 2565 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และขอชื่นชมทุกชิ้นงานที่ได้ส่งเข้าประกวด ทั้งประเภทผ้า จำนวน 2,946 ผืน และงานหัตถกรรม จำนวน 298 ชิ้น ซึ่งทุกท่าน คือ ผู้รักษาศิลปวัฒนธรรม ผู้สืบสาน รักษา และต่อยอดภูมิปัญญาของบรรพบุรุษให้คงอยู่ และขอให้ได้มุ่งมั่นตั้งใจในการพัฒนาตนเอง ด้วยการน้อมนำพระดำริของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” และองค์ความรู้ที่พระองค์ได้พระราชทาน มาพัฒนาฝีมือ พัฒนาชิ้นงาน ให้มีความสวยงาม สร้างสรรค์ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับความต้องการและความนิยมชมชอบของประชาชนผู้บริโภค เพื่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ และขอให้ได้ช่วยกันส่งเสริมให้ลูกหลานในครอบครัว เด็กและเยาวชนในหมู่บ้าน/ชุมชนได้เรียนรู้ สืบสานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของบรรพบุรุษเหล่านี้ให้เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน