วันเสาร์ที่ 5 เมษายน 2025

อุดรธานีถึงแดนกิมจิ ทำไมโรงเรียนสอนภาษาเกาหลีจึงมีมากในอีสาน – BBC News ไทย

  • Author, เรื่องโดย ธันยพร บัวทอง ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย
  • Role, วิดีโอโดย นภสินธุ์ สามแก้วแจ่ม ผู้สื่อข่าววิดีโอบีบีซีไทย
  • Reporting from อุดรธานี
NAPASIN SAMKAEWCHAM/BBC THAI

ที่มาของภาพ, NAPASIN SAMKAEWCHAM/BBC THAI

คำบรรยายภาพ,

ห้องเรียนหลักสูตรเตรียมสอบภาษาเกาหลีเพื่อไปทำงานวันแรกในเดือน พ.ย.

หากลองพิมพ์คำค้นหาว่า “โรงเรียนสอนภาษาเกาหลี” ในอินเทอร์เน็ต โรงเรียนที่ตั้งชื่ออย่างเช่น โคเรีย ฮวาซอง โกโกโคเรีย จะปรากฏในผลการค้นหานั้น  คุณผู้อ่านอาจจะไม่เคยรู้มาก่อนว่า โรงเรียนเหล่านี้จำนวนไม่น้อยอยู่ในภาคอีสาน

และหากลองเข้าไปดูรายละเอียดอีกหน่อย จะพบว่านักเรียนหนุ่มสาวที่มาเรียนไม่ได้มาเรียนเพราะกระแสซีรีส์เกาหลีหรือเค-ป็อป แต่ล้วนเป็นผู้ที่กำลังเตรียมตัวสอบไปทำงานที่เกาหลีใต้ต่างหาก

ช่วงสายวันหนึ่งของเดือน พ.ย. ที่โรงเรียนพัฒนาอาชีพอุดรธานี โรงเรียนฝึกอาชีพเอกชนใน อ.เมือง จ.อุดรธานี หนุ่มสาววัยตั้งแต่ 23 ขึ้นไป ราว 30 คน กำลังเริ่มต้นเรียนเรื่องสระเดี่ยวของภาษาเกาหลี 10 ตัว ในชั่วโมงแรกของการเรียน

ตัวอักษรและสระที่เป็นเส้น ๆ ขีด ๆ ในรูปทรงต่าง ๆ ที่ต่างจากภาษาไทยอย่างสิ้นเชิง ชวนให้ผู้เขียนรู้สึกถึงความยากในการเริ่มต้นเรียนภาษาใหม่ ๆ ที่ต้องเรียนรู้พื้นฐานทั้งหมดในเวลาเพียง 5 สัปดาห์

คำบรรยายวิดีโอ,

จากอุดรธานีถึงแดนกิมจิ เปิดห้องเรียนแรงงานหนุ่มสาวไทยสู่เกาหลีใต้อย่างถูกกฎหมาย

สมุทรสาคร ประจวบคีรีขันธ์ ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ ภูเก็ต นครพนม หนองบัวลำภู และจังหวัดอื่น ๆ ในแถบภาคอีสาน คือ จังหวัดที่นักเรียนหนุ่มสาวจากหลายอาชีพจากมา เพื่อเข้าเรียนในคอร์สนี้

หญิงสาวคนหนึ่งบอกว่า เธอถึงขนาดลาออกจากเป็นพนักงานที่ร้านทอง เพื่อมาเตรียมตัวเรียนโดยเฉพาะ

“เขม” จิราพร เติ้นสิริรักษ์ หญิงสาวจาก จ.ลำปาง วัย 26 ปี วาดหวังที่จะไปทำงานเกาหลีใต้ เพราะรายได้ที่สูงกว่าเมืองไทยหลายเท่ากว่าการช่วยแม่ของเธอที่ร้านขายของชำที่บ้าน หลังจากหางานด้วยวุฒิการศึกษาชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ที่บ้านเกิดลำปางไม่ได้

“ถ้าเราอยู่บ้านเรา เราก็ได้เงินแค่นี้ มันพอใช้ แต่มันไม่พอเก็บ”

ญาติ ๆ ของเขมในลำปาง ล้วนไปทำงานที่เกาหลี เธอบอกว่า บางคนเสียเงินไป 70,000-80,000 บาท ไปแบบ “ผีน้อย” แต่อยู่ได้แค่ 3 เดือน ก็ถูกจับกุมและส่งกลับ ประสบการณ์ที่คนรอบตัวเขมเจอ ทำให้เธอตัดสินใจเลือกหนทางการจัดส่งในระบบ

“ถ้าไปเป็นผีน้อย โดนจับกลับ ต้องติดคุกเขาก่อน ถ้า ตอนนั้นเราไม่มีเงินติดตัวเลย เราก็ยังไม่ได้กลับจนกว่าจะมีเงิน ถึงจะซื้อตั๋วกลับได้ มันดูแล้วมันลำบากตรงนี้ ถ้าสักวันนึงเราไป แล้วเราป่วย หาหมอไม่ได้มันก็แย่ เลยเลือกจะเรียนเลยดีกว่า” 

ที่มาของภาพ, NAPASIN SAMKAEWCHAM/BBC THAI

คำบรรยายภาพ,

“เขม” จิราพร เดินทางมาจากลำปาง เพื่อมาเรียนที่อุดรฯ 5 สัปดาห์

เขม เป็นหนึ่งในแรงงานไทยจำนวนปีละหลายหมื่นคน ที่เลือกทำเช่นนี้ และขั้นแรกของหลาย ๆ คน คือ การมาเข้าคอร์สเรียนภาษาเกาหลี เพื่อเตรียมตัวสอบความสามารถทางภาษาและทักษะการทำงาน ซึ่งเป็นการสอบที่เกาหลีใต้กำหนดในการสมัครไปทำงานผ่านระบบการจ้างงานแรงงานต่างชาติ (EPS – Employment Permit System)

ความนิยมในการไปทำงานเกาหลีใต้ของกลุ่มแรงงาน ซึ่งมีรายได้ต่อเดือนเริ่มตั้งแต่ราว 50,000-60,000 บาท ทำให้มีคนสมัครทดสอบภาษาและทักษะการทำงานปีละหลายหมื่นคน

โรงเรียนสอนภาษาเกาหลีเช่นเดียวกับที่นี่จึงมีจำนวนมากในไทย และกล่าวได้ว่ามีมากที่สุดในภาคอีสาน เช่น นครราชสีมา ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม โดยเฉพาะอุดรธานี ที่มีถึง 8 แห่ง ซึ่งเป็นไปตามตัวเลขของกองบริหารแรงงานไปต่างประเทศ กรมการจัดหางานที่บันทึกไว้ว่า ประชากรจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เดินทางไปทำงานต่างประเทศสูงกว่าภาคอื่น

เปิดห้องเรียน 5 สัปดาห์ สู่ใบเบิกทางทำงานที่เกาหลี

อาคารสองชั้น 2-3 หลังในบริเวณเดียวกัน ที่มีทั้งห้องฝึกอาชีพ ห้องเรียนสอนทำงานอาหารที่นักเรียนในชุดกุ๊กสีขาวกำลังเรียนอยู่ และห้องเรียนที่มีโต๊ะเก้าอี้เลคเชอร์เสมือนในมหาวิทยาลัย คือ สถานที่ภายในโรงเรียนพัฒนาอาชีพอุดรธานี โรงเรียนนอกระบบที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง และเปิดตั้งแต่ปี 2532

โรงเรียนแห่งนี้ เปิดสอนทั้งภาษาญี่ปุ่น และภาษาเกาหลี ใน 1 ปี มีการเปิดสอนทุก 2 สัปดาห์ โดยช่วงที่มีการเปิดรับสมัครทดสอบภาษาเกาหลี จะมีนักเรียนมาลงเรียนเตรียมสอบมากกว่ารอบอื่น ๆ ซึ่งเจ้าของโรงเรียนบอกว่า บางปีมีคนมาเรียนภาษาเกาหลีรวมทั้งปีกว่า 3,000 คน

ที่มาของภาพ, NAPASIN SAMKAEWCHAM/BBC THAI

คำบรรยายภาพ,

ห้องเรียนหลักสูตรเตรียมสอบภาษาเกาหลีเพื่อไปทำงานวันแรกในเดือน พ.ย.

อมร อินทรโชติ ผู้บริหารโรงเรียนพัฒนาอาชีพอุดรธานี กล่าวกับบีบีซีไทยว่า ผู้ที่มาเรียนมาจากหลากหลายสาขาอาชีพ หลายการศึกษา และเดินทางมาจากจากหลายจังหวัดไม่เฉพาะในอีสาน

“คนไทยส่วนใหญ่เน้นประเทศเกาหลีอันดับหนึ่ง เรื่องการเปลี่ยนแปลงไม่มี มีแต่จะเปลี่ยนจากประเทศอื่นเป็นมาไปเกาหลี” อมร ระบุ

ภายในห้องเรียนชั้น 1 “ครูนุ๊กนิ๊ก” จิรนันท์ เสียงใส ครูวัย 28 ปี กำลังสอนพื้นฐานของภาษา เธอบอกกับบีบีซีไทยว่า คอร์สเรียนสำหรับแรงงานต้องเตรียมตัวผู้เรียนให้มีทักษะพื้นฐานการสื่อสารให้ได้ใน 5 สัปดาห์ ซึ่งต่างจากชั้นเรียนภาษาของระดับมัธยมที่เธอเคยสอน ใช้เวลาเรียนระดับพื้นฐานภาษา 2 ปี

“ภาษาเกาหลีเป็นภาษาใหม่สำหรับนักเรียน และการเรียนไม่จำกัดวุฒิการศึกษามันก็ยากนิดนึง เพราะระดับการเรียนแต่ละคนไม่เท่ากัน”

จิรนันท์ เล่าถึงกระบวนการเรียนในห้องว่า สัปดาห์แรกเป็นการปูพื้นฐานตั้งแต่พยัญชนะ สระ ตัวสะกด เพื่อให้อ่านออกเขียนได้ ในระดับที่เรียนรู้คำศัพท์เป็นคำ ๆ ได้ สัปดาห์ที่สอง จะเข้าสู่ไวยากรณ์ พร้อม ๆ กับแนวข้อสอบ และแทรกเรื่องคำศัพท์ และจะเป็นรูปแบบนี้จนครบ 5 สัปดาห์ โดยข้อสอบส่วนที่ยากคือ การอ่านจับใจความ การเติมคำที่ต้องใช้ไวยากรณ์ คำศัพท์เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน และคำศัพท์ในงานทั้งอุตสาหกรรม เกษตร ก่อสร้าง

ที่มาของภาพ, NAPASIN SAMKAEWCHAM/BBC THAI

คำบรรยายภาพ,

สื่อการเรียนแสดงคำศัพท์ที่ใช้งานงานประเภทต่าง ๆ ถูกติดไว้ในห้องเรียนทุกห้อง

คนรุ่นใหม่ กลายเป็นผู้เรียนกลุ่มหลัก

โรงเรียนแห่งนี้มีนักเรียนจากหลาย ๆ จังหวัด หลายห้องเรียนอายุน้อยที่สุดอยู่ที่ราว 22 ปี ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์อายุที่เกาหลีเปิดรับ คือ ต้องมีอายุระหว่าง 18-39 ปี

“ก้อย” จุฑามาศ ไกรษร หญิงวัย 34 อาชีพนวดสปาอิสระ เดินทางมาจาก จ.ตราด เพื่อมาเรียนคอร์สนี้โดยเฉพาะ และเธอเป็นผู้เรียนที่อายุมากที่สุดในห้อง

ก้อย ทำงานหาเลี้ยงตัวเองมาตั้งแต่ช่วงเข้าเรียนมหาวิทยาลัย เป็นพนักงานพีอาร์สินค้าในห้าง จนช่วงที่ยุติการเรียนไปก็ทำมาหลากหลายอาชีพ ทั้งในโรงงานชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่นวนคร โรงงานยาง ทำนา งานประจำสุดท้ายคือ พนักงานนวดสปาที่มาเลเซีย แต่เมื่อมีโควิดก็เดินทางกลับบ้าน

ที่มาของภาพ, NAPASIN SAMKAEWCHAM/BBC THAI

คำบรรยายภาพ,

จุฑามาศ เคยมีประสบการณ์ไปทำงานที่มาเลเซีย ตอนนี้เกาหลีเป็นประเทศที่เธอตั้งเป้าหมายไปทำงาน

ก้อย ทำงานหาเลี้ยงตัวเองมาตั้งแต่ช่วงเข้าเรียนมหาวิทยาลัย เป็นพนักงานพีอาร์สินค้าในห้าง จนช่วงที่ยุติการเรียนไปก็ทำมาหลากหลายอาชีพ ทั้งในโรงงานชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่นวนคร โรงงานยาง ทำนา งานประจำสุดท้ายคือ พนักงานนวดสปาที่มาเลเซีย แต่เมื่อมีโควิดก็เดินทางกลับบ้าน

ถ้าให้กลับไปตอนนี้อีกครั้ง เธอบอกว่าค่าเงินริงกิตตกลงไปหลายบาท ไม่คุ้มกับค่าเหนื่อย จึงหันหน้ากลับเมืองไทย

“ทำงานที่ไทยเราก็เหนื่อย เกาหลีเราไปทำงานก็เหนื่อย แต่ว่าค่าตอบแทน มันสูงมันต่ำไม่เท่ากัน ดังนั้นเราก็ต้องลองวัดดวงดู” ก้อย เล่าอย่างมุ่งมั่น พร้อมกับเทียบค่าแรงให้ดูว่า ทำงานที่เกาหลีใต้ก็ได้ค่าแรงขั้นต่ำของที่คิดเป็นเงินไทยเกือบ 2,000 บาทต่อชั่วโมง

ไม่ต่างจาก สุทัศน์ ศิริศิลป์ หนุ่มวัย 28 จากนครพนม ซึ่งเรียนจบชั้นปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ตัดสินใจกลับมาทำงานที่บ้าน มาได้ 1 ปี หลังจากเข้าไปทำงานในบริษัทด้านไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ที่กรุงเทพฯ เขาบอกว่า เหตุที่เลือกกลับบ้าน เพราะรายได้ที่หักค่าครองชีพแล้ว ไม่ต่างจากการกลับมาทำงานเป็นช่างทำมีดสวยงามที่บ้านเกิด

ที่มาของภาพ, NAPASIN SAMKAEWCHAM/BBC THAI

คำบรรยายภาพ,

ภายในห้องเรียนมีการทดสอบเสมือนจริงผ่านคอมพิวเตอร์

จุดเปลี่ยนของเขา คือ การต้องรับภาระจำนองที่ดินของครอบครัว ซึ่งสุทัศน์บอกว่า หากอยู่เมืองไทย เพียงจ่ายหนี้ก็หมดแล้ว ไม่มีหวังได้มีทุน

“แต่ก่อนผมไม่คิดว่ากลับมาอยู่บ้านจะมีภาระตรงนี้ขึ้นมา ยังเลี้ยงพ่อแม่ได้อยู่มีเงินเก็บบ้าง ทีนี้ต้องมาจ่ายหนี้ส่วนนี้ จึงไม่มีเงินเก็บแต่ละเดือน”  เขากล่าว พร้อมบอกว่า ถ้าเลือกได้เขาอยากไปทำงานอุตสาหกรรม และคิดว่าอยากไปให้เร็วที่สุด

ห่างกันไม่กี่กิโลเมตรในตัวเมืองอุดรฯ อาคารพาณิชย์สองคูหา คือที่ตั้งของโรงเรียนโคเรียศึกษา โรงเรียนสอนภาษาเกาหลีอีกแห่ง ก็เพิ่งเริ่มต้นชั้นเรียนชุดใหม่ในสัปดาห์เดียวกัน ในชั้นเรียนมีหนุ่มสาวในช่วงอายุ 20 ต้น ๆ นั่งเรียนเต็มห้อง

ที่มาของภาพ, NAPASIN SAMKAEWCHAM/BBC THAI

ธรรมรงค์ เทียนสี เจ้าของโรงเรียนโคเรียศึกษา โรงเรียนสอนเตรียมสอบภาษาเกาหลีอีกแห่ง บอกกับบีบีซีไทยถึงความเปลี่ยนแปลงของคนที่ต้องการไปทำงานเกาหลีที่เขาเห็นจากผู้ที่มาลงเรียนในช่วงหลายปีหลังว่า มีแนวโน้มมากขึ้นเรื่อย ๆ ที่ระดับการศึกษาจะสูงขึ้น และเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่อายุน้อยลง

“จากเดิมเมื่อก่อน ม.6 ม.3 เต็มที่ ทุกวันนี้ ปวส. ปริญญาตรี ปริญญาตรีตอนนี้เกือบจะเข้ามาครึ่งหนึ่งแล้วนะ ครึ่งต่อครึ่งเลย ถ้ามี 20 คน ปริญญาตรีสัก 10 คน…วุฒิการศึกษาสูงขึ้นเรื่อย ๆ เคยสอนกระทั่งการจบปริญญาโท” ธรรมรงค์กล่าวกับบีบีซีไทย

ยากแค่ไหนที่จะไปทำงานเกาหลีอย่างถูกกฎหมาย

การไปทำงานเกาหลีใต้อย่างถูกกฎหมาย ปัจจุบัน มีทั้งการจัดส่งของเอกชน ด้วยวีซ่า E8 และการจัดส่งโดยรัฐบาล ผ่านระบบการจัดส่งแรงงานระหว่างรัฐบาลเกาหลีใต้ กับ รัฐบาลของประเทศผู้ส่ง หรือ EPS ด้วยวีซ่า E 9

ปัจจุบันเกาหลีใต้มีบันทึกข้อตกลงเช่นนี้กับ 16 ประเทศ เช่น เนปาล เวียดนาม ฟิลิปปินส์ เมียนมา กัมพูชา ลาว เป็นต้น โดยเกาหลีใต้จะจัดแบ่งโควตาแรงงานว่าแต่ละประเทศจะส่งได้จำนวนเท่าใดในทุก ๆ 2 ปี ปีละ 50,000-60,000 คน โดยระบบนี้เริ่มใช้เมื่อปี 2549

ระบบ EPS ไม่จำกัดวุฒิการศึกษาของแรงงาน แต่ต้องมีอายุ 18-39 ปี และทดสอบความสามารถทางภาษาเกาหลี (EPS-TOPIK) ผ่าน

อย่างไรก็ตาม เมื่อดูจำนวนคนไทยในเกาหลีใต้แล้ว แรงงานผิดกฎหมายของไทยมีจำนวนมากกว่าแรงงานในระบบ EPS หลายเท่า จำนวนแรงงานไทยตามระบบ EPS (ณ 30 ก.ย.) อยู่ในเกาหลีใต้ 16,686 คน ขณะที่แรงงานผิดกฎหมายมีอยู่ราว 140,000 คน

ที่มาของภาพ, NAPASIN SAMKAEWCHAM/BBC THAI

คำบรรยายภาพ,

ตัวอย่างหนังสือเตรียมสอบความสามารถทางภาษาเกาหลี

สำหรับปี 2565 ประเทศไทย ได้รับโควตาส่งแรงงานจำนวนเพียงกว่า 3,900 คน น้อยกว่าช่วงปี 2548-2560 ที่แรงงานไทยไปปีละเฉลี่ย 5,000 คน กรมการจัดหางาน ชี้ว่านี่อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ไปช่องทางอื่นที่ผิดกฎหมาย

สถิติที่ผ่านชี้ด้วยว่า แรงงานชายได้รับเลือกจากนายจ้างมากกว่าแรงงานผู้หญิง โดยเป็นแรงงานชายเฉลี่ยกว่า 83% ในแต่ละปี

การไปเกาหลีใต้ด้วยวิธี EPS เปิดรับสมัครให้ทดสอบความสามารถทางภาษาเกาหลีก่อน โดยเปิดทั้งสิ้น 3 รอบ งานอุตสาหกรรมได้รับความสนใจมากที่สุดเพราะมีรายได้ดีที่สุดในงาน 3 ประเภท

ผู้ที่สอบผ่านจะได้รับการจัดส่งข้อมูลให้ทางการเกาหลีใต้ แต่ไม่ได้เป็นการรับประกันว่าจะได้ไปทำงานที่เกาหลีใต้ทันที ชื่อของแรงงานจะถูกขึ้นทะเบียนไว้ 2 ปี และรอให้นายจ้างเลือกก่อน บางคนอาจจะได้สัญญาจ้างเร็ว บางคนอาจเกิน 1 ปีขึ้นไป ทำให้บางคนเลือกวิธีการลักลอบเข้าเกาหลีใต้แทน

“ตอบไม่ได้ว่าจะเร็วจะช้า เพราะว่า ส่วนใหญ่ผู้ชายจะเร็วกว่าผู้หญิง ผู้หญิงค่อนข้างจะช้านิดนึง บางคนก็เร็ว บางคนก็ช้า บางคน 1-2 เดือน เป็นปี บางคนเกือบ 2 ปี สัญญาจ้างเพิ่งมาเพิ่งได้บินก็มี” อมร ผู้บริหารโรงเรียนพัฒนาอาชีพอุดรธานี กล่าว

ที่มาของภาพ, โรงเรียนพัฒนาอาชีพอุดรธานี

สำหรับการทดสอบภาษา เกณฑ์คะแนนที่สอบผ่านสูงขึ้นทุกปี อย่างการสอบประเภทงานอุตสาหกรรม รอบแรงงานชาย ปีนี้ มีผู้สมัครสอบ 30,000 คน แต่สอบผ่านเพียง 8% น้อยกว่าจำนวนที่นั่งที่เกาหลีใต้ให้ประเทศไทยด้วยซ้ำ

เจ้าของโรงเรียนโคเรียศึกษา ซึ่งคลุกคลีอยู่ในวงการสอนภาษาเกาหลีมา 20 ปี บอกว่า ระยะเวลาการเตรียมตัวของคนไทยนั้นสั้นกว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนาม กัมพูชา ที่มีเวลาเตรียมตัวอย่างน้อย ๆ 6 เดือน และความไม่แน่นอนของช่วงการเปิดสอบแต่ละรอบ ทำให้คนไทยมีเวลาเตรียมสอบไม่มากเท่าประเทศอื่น

“คนไทยก็รู้อยู่แล้วว่า ถ้าไม่มีแพลนที่จะรับสมัครออกมา เขาไม่เรียน จะมาเรียนเมื่อมีประกาศออกมาอีก 2 อาทิตย์รับสมัคร ก็แห่มาเรียน กลายเป็นว่าระยะเวลาเตรียมตัวไม่พอ” ธรรมรงค์ กล่าว

เขาเสนอด้วยว่า หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกาศแผนที่แน่นอนล่วงหน้าเป็นปี น่าจะช่วยส่งเสริมการเตรียมตัวของแรงงานให้มีความพร้อมได้สูงขึ้น

ที่มาของภาพ, NAPASIN SAMKAEWCHAM/BBC THAI

ราคาที่ต้องจ่ายของการไปอย่างถูกต้อง  

แค่คิดจะไปทำงานเกาหลีอย่างถูกกฎหมาย ค่าใช้จ่ายแรกคือ ค่าลงเรียนภาษาเกาหลีเพื่อเตรียมสอบ โดยทั่วไปหลักสูตร 5 สัปดาห์เช่นโรงเรียนที่บีบีซีไทยสำรวจ ค่าเรียนคอร์สละ 9,500 บาท แต่ละโรงเรียนมีแพ็กเกจแตกต่างกันไป เช่น รวมค่าหอพัก อุปกรณ์การเรียน หรือการติวข้อสอบจนกว่าจะสอบผ่าน

นี่จึงเป็นโอกาสของโรงเรียนสอนภาษาเกาหลีรูปแบบนี้ เกิดขึ้นจำนวนมากในไทย โดยกระทรวงแรงงานบอกกับบีบีซีไทยว่าอยู่ระหว่างสำรวจตัวเลข แต่ผู้บริหารโรงเรียนโคเรียศึกษาบอกว่า มีโรงเรียนที่เป็นสมาชิกกลุ่ม ร.ร. เอกชน 47 แห่ง และประเมินด้วยว่ามีจำนวนมากกว่าที่ขึ้นทะเบียน  ยังไม่นับรวมครูสอนภาษาเกาหลีอิสระอื่น ๆ

ที่มาของภาพ, NAPASIN SAMKAEWCHAM/BBC THAI

คำบรรยายภาพ,

โรงเรียนโคเรียศึกษา จ.อุดรธานี

นอกจากนี้ นักเรียน 3 คนที่บีบีซีไทย ได้พูดคุยบอกว่า พวกเขาต้องเตรียมเงินก้อนไว้ราว ๆ 1 แสนบาท นับรวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดตั้งแต่เริ่มเรียนภาษา ไปจนถึงค่าใช้จ่ายสำรอง และค่าดำรงชีวิต เมื่อไปถึงเกาหลีเดือนแรก

“ค่าตั๋วเครื่องบินตัดไปเลย 25,000 บาท ค่าเรียนเราก็ 9,500 แล้ว ค่าวีซ่า ค่าตรวจโรค ค่าที่เรายื่นประวัติอาชญากรรมที่กรมตำรวจอีกมากมาย” จุฑามาศ บอกกับบีบีซีไทย พร้อมบอกถึงที่มาของทุนตั้งแต่ว่า “น่าจะให้ที่บ้านเอาที่ไปจำนอง ถ้าไม่งั้นก็ต้องขอยื่นกู้เขาก่อน”

คำนวณดูแล้ว ค่าใช้จ่ายเพื่อไปทำงานเกาหลี 1 แสนบาท เท่ากับ ค่าแรงขั้นต่ำของคนไทยถึงกว่า 11 เดือน

นี่อาจเป็นบางส่วนของเหตุผลที่แรงงาน “ผีน้อย” เลือก “เสี่ยงดวง” ลักลอบเข้าประเทศเกาหลีใต้มานับทศวรรษ

อุดรธานี

อุดรธานี

กรมหลวงประจักษ์ฯ สร้างเมือง ลือเลื่องแหล่งธรรมะ อารยธรรมห้าพันปี ธานีผ้าหมี่ขิด ธรรมชาติเนรมิตทะเลบัวแดง

Next Post

หมวดบทความ

การก่อสร้าง การขนถ่ายสินค้า การขุด หรือเจาะบ่อน้ำ การค้าวัสดุก่อสร้าง การติดตั้งประปาสายหลัก การติดตั้งไฟฟ้าสายหลัก การผลิต การบรรจุก๊าซ การผลิตน้ำแข็ง การรีดโลหะ ผลิตเหล็ก การหล่อหลอม การกลึงโลหะ การเคลือบ ชุบ อาบขัดโลหะ การเลี้ยงสัตว์ กิจกรรม ข่าว ตรวจหวย ธุรกิจ บริการซัก อบ รีด บริษัท มูลนิธิ ร้านค้า ร้านอาหาร วิถีชีวิต สถานที่ท่องเที่ยว สถานศึกษา สพป.อุดรธานี เขต 1 สพป.อุดรธานี เขต 2 สพป.อุดรธานี เขต 3 สพป.อุดรธานี เขต 4 สพม.เขต 20 สมาคม หน่วยงานราชการ อบต. อาหาร อุดรธานี เบเกอรี่/ขนม/ไอศกรีม เอสเอ็มอี แฟรนไชส์ โรงงาน โรงพยาบาล บริการสุขภาพ โรงเรียนกวดวิชา โรงเรียนนานาชาติ โรงเรียนศิลปะและกีฬา โรงเรียนสอนวิชาชีพ โรงเรียนสามัญ โอทอป

Welcome Back!

Login to your account below

Create New Account!

Fill the forms below to register

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.