6 มิ.ย.64 เวลา 10.00 น. รายงานตั้งแต่วันที่ 4 – 6 มิ.ย. 64 เวลา 06.00 น. มีพื้นที่เกิดวาตภัย น้ำไหลหลาก และดินสไลด์ 13 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง แพร่ พะเยา อุดรธานี กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด สกลนครอุบลราชธานี สุรินทร์ ศรีสะเกษ นครราชสีมา และสุราษฎร์ธานี รวม 39 อำเภอ 58 ตำบล 134 หมู่บ้าน บ้านเรือนเสียหาย 891 หลัง ไม่มีผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิต ส่วนในรอบ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมาเกิดวาตภัยใน 6 จังหวัด ได้แก่ ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สุรินทร์ อุบลราชธานี และกาฬสินธุ์ รวม 20 อำเภอ 34 ตำบล 78 หมู่บ้าน ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้วทุกจังหวัดซึ่งปภ.ได้ร่วมกับจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่สำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้นแล้ว
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) รายงานมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งในห่วงวันที่ 4 มิถุนายน 2564 จนถึงปัจจุบัน (6 มิ.ย. 64 เวลา 06.00น.) มีพื้นที่ได้รับผลกระทบจากลมกระโชกแรง น้ำไหลหลาก และดินสไลด์รวม 39 อำเภอ 58 ตำบล 134 หมู่บ้าน บ้านเรือนเสียหาย 891 หลัง ไม่มีผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิต แยกเป็น
ภาคเหนือ 4 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง แพร่ และพะเยา รวม 9 อำเภอ 12 ตำบล 27 หมู่บ้าน บ้านเรือนเสียหาย 42 หลัง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 8 จังหวัด ได้แก่ อุดรธานี กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด สกลนคร อุบลราชธานี สุรินทร์ ศรีสะเกษ และนครราชสีมา รวม 29 อำเภอ 45 ตำบล 106 หมู่บ้าน บ้านเรือนเสียหาย 849 หลัง
ภาคกลาง 1 จังหวัด ได้แก่ สระบุรี รวม 1 อำเภอ 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน
ภาคใต้ 1 จังหวัด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี รวม 1 อำเภอ 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน
ส่วนในรอบ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมาเกิดวาตภัยใน 6 จังหวัด รวม 20 อำเภอ34 ตำบล 78 หมู่บ้าน ดังนี้ ยโสธร เกิดวาตภัยในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอกุดชุม และอำเภอเลิงนกทา รวม 2 ตำบล 4 หมู่บ้าน ร้อยเอ็ด เกิดวาตภัยในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่อำเภอธวัชบุรี และอำเภอเชิงขวัญ รวม 4 ตำบล 8 หมู่บ้านศรีสะเกษ เกิดวาตภัยในพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอกันทรลักษณ์ อำเภอขุขันธ์ อำเภอขุนหาญ อำเภอพยุห์ อำเภอภูสิงห์ อำเภอยางชุมน้อย อำเภอวังหิน และอำเภอไพรบึง รวม 13 ตำบล 24 หมู่บ้านสุรินทร์ เกิดวาตภัยในอำเภอบัวเชด รวม 2 ตำบล 11 หมู่บ้านอุบลราชธานี เกิดวาตภัยในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอน้ำยืน อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอสำโรง และอำเภอบุณฑริก รวม 8 ตำบล 14 หมู่บ้าน กาฬสินธุ์ เกิดวาตภัยในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอฆ้องชัย อำเภอกุฉินารายณ์ และอำเภอเขาวง รวม 5 ตำบล 17 หมู่บ้าน
ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้วทุกจังหวัดซึ่งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ประสานจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยสำรวจและประเมินความเสียหายเพื่อดำเนินการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังทั้งการชดเชยความเสียหายของบ้านเรือนเป็นวัสดุก่อสร้างหรือจ่ายเงิน
ช่วยเหลือตามความเหมาะสม