ประวัติความเป็นมา ดอนแก้ว เป็นเกาะเล็ก ๆ กลางหนองหานน้อยกุมภวาปี ซึ่งเป็นต้นกำเนิดแม่น้ำลำปาว ตำนานเล่าว่า พระอรหันต์กลุ่มหนึ่งจะไปนมัสการพระธาตุพรม ได้มาพักแรมที่ดอนแก้ว พระอรหันต์องค์หนึ่งอาพาธหนักถึงนิพพาน พระอรหันต์ทั้งหลายที่เหลืออยู่จึงถวายเพลิงท่าน และก่อเจดีย์บรรจุพระธาตุไว้ ต่อมาประมาณ พ.ศ. 11 มีกลุ่มคนเข้ามาในดอนแก้วแล้วสร้างใบเสมาหินทรายล้อมรอบพระธาตุไว้ และปักรายรอบบริเวณดอนแก้ว จากการศึกษาพบว่าเป็นเสมาสมัยทวารวดี ต่อมาชุมชนลาวได้อพยพจากเมืองร้อยเอ็ด เมืองชัยภูมิ เข้ามาตั้งถิ่นฐานที่ดอนแก้ว มีท้าวชินเป็นหัวหน้าชุมชน ได้ปฏิสังขรณ์พระธาตุเจดีย์ขึ้น (จากจารึกที่ฐานพระธาตุเป็นตัวลาวโบราณ) บอกว่าบูรณะเสร็จสิ้นปี พ.ศ. 2441 ประมาณ ปี พ.ศ. 2471 มีชุมชนหลายกลุ่มเข้ามาอยู่ในดอนแก้ว ส่วนใหญ่เป็นลางเวียง จึงได้สร้างวัดเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนาขึ้นที่ดอนแก้วให้ชื่อว่า”วัดมหาธาตุเจดีย์ พ.ศ. 2513 พระครูสังฆรักษ์ (ชน) เจ้าอาวาส ร่วมมือกับชาวบ้านดอนแก้วปฏิสังขรณ์พระธาตุให้แข็งแรงกว่าเดิม จากการศึกษาของนักโบราณคดีมหาวิทยาลัยศิลปากรพบว่า อายุของพระธาตุเจดีย์มีอายุไม่ต่ำกว่า 1,500ปี และเสมาที่ปักรายรอบมีอายุประมาณ พ.ศ. 11 ลักษณะทั่วไป ดอนแก้วมีพื้นที่ลักษณะกลม มีคูน้ำล้อมรอบ ภายในเกาะเป็นที่ดอนสูง ๆ ต่ำ ๆ ใช้ทำการเกษตรไม่ได้ ชาวบ้านมาอยู่อาศัยบริเวณชายน้ำริมเกาะ หลักฐานที่พบ พบเสมาหินทรายสมัยทวารวดี บางทีมีภาพจำหลักมีจารึกที่ลบเลือนอ่านไม่ออก เสมาหินทรายปักรอบพระมหาธาตุเจดีย์ และอีกส่วนปักห่างจากพระมหาธาตุเจดีย์ไปประมาณ 500 เมตร พบพระพุทธรูปหินทรายแดง และพระพุทธรูปสำริด ฝีมือช่างพื้นบ้าน พระธาตุเจดีย์ เป็นเจดีย์ทรงเหลี่ยม ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลง 2ชิ้น ชั้นแรกกว้างด้านละ 14 ม. สูง 1.25 ม. มีทางขึ้นลงด้านทิศตะวันออก และทิศตะวันตะวันตก ชั้นที่2 กว้างยาวด้านละ 10 ม. สูง1.50 ม. มีทางขึ้นลง 4 ด้าน และฐานขั้นนี้เป็นลานประทักษิณเจดีย์ องค์พระธาตุก่อด้วยอิฐถือปูน ก่อจากฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีประติมากรรมปูนปั้นรูปกลีบบัวหงายประดับที่มุมทั้ง 4 และมีประติมากรรมนูนต่ำ ภาพพระพุทธเจ้าพระสาวก เทวดา และบุคคล ประดับโดยรอบ เรือนธาตุเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อนกัน 3ชั้น สูงขึ้นไปตามลำดับ โดยมีบัวคว่ำ บัวหงาย และบัวลูกแก้วคั่น เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมล้านช้าง คล้ายธาตุไม้ของอิสาน เป็นการรับอิทธิพลพระธาตุหลวงเวียงจันทน์ ยอดธาตุเป็นปลีเล็กเรียวแหลมขึ้นไป พบใบเสมาหินทราย บางหลักเป็นรูปสี่เหลี่ยมแบน บางหลักกลมใหญ่ บางหลักกลมเฉพาะตอนต่ำจากฐาน ตอนเหนือฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมหนา ยาวขึ้นไปกว่า 3 เมตร หลักหนึ่งมีภาพจำหลักเป็นฐานกลีบบัว เหนือกลีบบัวเป็นรูปคล้ายช้างคู่คู่หนึ่ง ถวายความเคารพเทวรูปสตรีที่ประทับกึ่งกลาง แสดงปางพระพุทธเจ้าประสูติหลักหนึ่งมีจารึกที่ลบเลือนอ่านไม่ออก เสมาหลายหลักปรักหักพัง เส้นทางเข้าสู่พระธาตุดอนแก้ว สอบถามข้อมูล ได้ที่สำนักงานอุดรธานี โทร. 0 4232 5406-7