วัดมัชฌิมาวาส พระอารามหลวง ก่อนจะมาเป็นวัด มัชฌิมาวาส วัดมัชฌิมาวาสเป็นวัดร้างมาก่อนชื่อว่าวัดโนนหมากแข้ง แต่หลักฐานที่พอให้ทราบได้ว่าเป็นวัดร้างนั้น ก็มีอยู่ 2 อย่าง คือเจดีย์ศิลาแลงตั้งอยู่ที่โนน (เนิน) ประชาชนเล่าสืบกันมาว่าเจดีย์นั้นได้ครอบ หรือ คร่อมตอหมากแข้งขนาดใหญ่และมีพระพุทธรูปหินขาว ปางนาคปรก (ปัจจุบัน คือ หลวงปู่นาค) อยู่ภายในเจดีย์ ปัจจุบันพระพุทธรูปหินขาวปางนาคปรกก็ได้นำมาประดิษฐานไว้ที่หน้าพระอุโบสถให้ชาวอุดรฯ และจังหวัดใกล้เคียงได้สักการะบูชากันมาจนถึงทุกวันนี้ และกลายเป็นพระพุทธรูปที่ขึ้นชื่อในเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์คู่วัดมัชฌิมาวาสตลอดมา วัดมัชฌิมาวาสเดิมชื่อ วัดโนนหมากแข้ง โดยได้รับพระราชทานบรมราชานุญาตสถาปนาเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2507 ตั้งอยู่ในตำบลหมากแข้ง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ตั้งอยู่บนเนื้อที่ทั้งหมด 15 ไร่ 1 งาน มีถนนล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านทิศตะวันออก ติดกับถนนหมากแข้ง และถนนดุษฎี ด้านทิศใต้ ติดกับถนนวัฒนา ด้านทิศเหนือ ติดกับถนนโพนพิไสย อยู่ใกล้กับสถานที่ราชการหลายแห่ง คือ ใกล้ศาลจังหวัดอุดรธานี โดยห่างจากศาลจังหวัดอุดรธานทีเพียง 40 เมตรเท่านั้น ใกล้กับสถานีกาชาดที่ 9 และสาธารณสุขจังหวัด ประมาณ 30 เมตร ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 120 เมตร ด้านหลังติดกับโรงเรียนเทคนิคอุดรธานีโดยห่างกันเพียง 30 เมตร ห่างจากสำนักงานเทศบาลเมืองอุดรธานี ประมาณ 250 เมตร และตั้งอยู่ในย่านกลางของคุ้มต่าง ๆ คือ คุ้มบ้านห้วย คุ้มบ้านโนน คุ้มหมากแข้ง คุ้มทุ่งสว่าง และคุ้มบ้านคอกวัว พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม สมัยดำรงตำแหน่งเป็นข้าหลวงใหญ่ผู้สำเร็จราชการหัวเมืองลาวพวน ได้ทรงสร้างวัดโนนหมากแข้ง (เคยเป็นวัดร้าง) แล้วมีภิกษุจำพรรษาอีกครั้ง เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น วัดมัชฌิมาวาส เมื่อราว พ.ศ. 2436 พร้อมกับการสร้างเมืองอุดรธานีขึ้น วัดมัชฌิมาวาสจึงได้ขึ้นชื่อว่าเป็นวัดที่เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองอุดรฯ จนตราบเท่าทุกวันนี้ หลวงพ่อนาคเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง อุดรธานี พบในวัดร้างโบราณที่บ้านโนนหมากแข้ง ชาวบ้านเดื่อหมากแข้งและละแวกใกล้เคียงจัดให้มีงานสรงน้ำในเทศกาลสงกรานต์ และงานบุญบั้งไฟเป็นประเพณีสืบมา ในรัชกาลที่ 5 พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลฝ่ายเหนือ โปรดให้สร้างวัดมัชฌิมาวาสขึ้นที่บริเวณวัดร้างนี้แล้วอันเชิญหลวงพ่อนาคประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 27 มกราคม พุทธศักราช 2437 ต่อมาในพุทธศักราช 2494 พระเทพวิสุทธาจารย์ เจ้าอาวาสได้ปฏิสังขรณ์พระอุโบสถใหม่ พร้อมกับบูรณะหลวงพ่อนาคโดยหุ้มพระพุทธรูปองค์เก่าไว้ภายในหลวงพ่อนาคเป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก ทำจากหินขาวเป็นท่อนนำมาประกอบกันเป็นองค์พระประดิษฐานอยู่หน้าพระอุโบสถ ไม่ปรากฏว่าสร้างขึ้นเมื่อใด เดิมหลวงพ่อนาคประดิษฐานอยู่ที่วัดร้าง บนโนนหมากแข้ง ชาวบ้านเดื่อหมากแข้งและบ้านใกล้เคียงนับถือว่า เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์จึงได้พร้อมใจกันปลูกศาลาขนาดเล็ก มุงด้วยหญ้าคาเป็นที่ประดิษฐานมีการทำบุญสรงน้ำในเทศกาลสงกรานต์ และทำบุญบั้งไฟบูชาเป็นประจำทุกปี ต่อมาเมื่อ นายพลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ทรงสร้างวัดมัชฌิมาวาสขึ้น ที่วัดร้างโนนหมากแข้งนี้จึงทรงให้สร้างอุโบสถขึ้นที่โนนหมากแข้ง แล้วอาราธนาพระพุทธรูปปางนาคปรก หินขาว ดังกล่าวมาประดิษฐานเป็นพระประธานในอุโบสถนั้น ต่อมาทางวัดได้สร้างพระอุโบสถหลังใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2494 จึงได้รื้อพระอุโบสถหลังเก่าและอาราธนาหลวงพ่อนาค ไปประดิษฐานไว้ที่หน้ามุข ด้านหน้าพระอุโบสถ และได้มีการก่อพระพุทธรูปหุ้มองค์เดิมไว้ประชาชนถือว่าเป็นพระพุทธรูปมิ่งเมืองอุดรธานี เพราะมีประจำอยู่ที่โนนหมากแข้งก่อนสร้างเมืองอุดรธานี ทางวัดมัชฌิมาวาสถือเอาหลวงพ่อนาคเป็นสัญลักษณ์ของวัดและตราประจำวัดจะมีรูปพระนาคปรกอยู่ตรงกลางหลวงพ่อนาค วัดมัชฌิมาวาส หลวงพ่อนาคองค์เดิมเป็นพุทธรูปปางนาคปรกทำจากหินสีขาว หลังจากบูรณะแล้ว ชาวอุดรที่เคารพศรัทธาสามารถนำทองคำเปลวปิดถวายเพื่อเป็นการสักการะบูชาได้สะดวกขึ้น หลวงพ่อนาคเป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก วัสดุหินขาว พอกปูนทับองค์เดิม ขนาดหน้าตักกว้าง 104 เซนติ เมตร สูง 260 เซนติเมตร (เฉพาะองค์พระสูง 149 เซนติเมตร) ศิลปะรัตนโกสินทร์นับเป็นพระพุทธรูปคู่บ้าน คู่เมืองของจังหวัดอุดรธานีประดิษฐานที่มุขด้าน หน้าอุโบสถ วัดมัชฌิมาวาส สอบถามข้อมูล ได้ที่สำนักงานอุดรธานี โทร. 0 4232 5406-7