ศาลเจ้าปู่-ย่า ตั้งอยู่หลังสถานีรถไฟใกล้ตลาดหนองบัว ถนนนิตโย เป็นศาลเจ้าของชาวจีนที่ใหญ่โต และสวยงาม มีสวนหย่อมริมหนองบัว บริเวณโดยรอบศาลชมวิวกลางน้ำ 2 หลัง บรรยากาศร่มรื่น และในศาลเจ้าปู่-ย่า แห่งนี้ยังเป็นที่เก็บรักษามังกรทองยาวถึง 99 เมตร ซึ่งใช้แสดงในงานทุ่งศรีเมืองในช่วงเดือนธันวาคมของทุกปี เคล็ดลับการกราบไหว้ขอพร นอกจากการกราบไหว้ด้วยธูป 30 ดอกแล้ว การกราบไหว้ศาลเจ้าปู่-ย่า ต้องถวายส้ม 4 ลูก พอกราบไหว้ครบทั้ง 6 จุดแล้ว ให้เดินไปที่สะพานเก้าเลี้ยวเชื่อกันว่าเป็นจุดเชื่อมต่อสวรรค์ และรับรู้ว่าขอพรอะไรไป เสร็จแล้วให้มากราบลาศาลปู่-ย่า พร้อมเอาส้มกลับมา 2 ลูก สิ่งศักดิ์สิทธิ์แห่งแรกที่ควรแวะมาสักการะยังศาลเจ้าแห่งนี้ ได้แก่ “ทีตีแป่บ้อ” เรียกสั้น ๆ ว่า “ทีกง” หรือ ชื่อในภาษาไทย คือ “ศาลเทพยดาฟ้าดิน” ซึ่งเป็นการกราบไหว้สักการะสวรรค์ หรือเหล่าเทพยดาที่อยู่บนสรวงสวรรค์นั่นเอง (ตามวัดจีน หรือ ศาลเจ้าจีน จะมี “ทีตีแป่บ้อ” อยู่เสมอทุกที่) เสาทีกง จะจัดสร้างขึ้นในกรรมการสมัยที่ 51 (พ.ศ. 2544) โดยมีความสูง 14.4 เมตร สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สอง คือ “ปึงเถ่ากงม่า”หรืิอ ชื่อภาษาไทย คือ”เจ้าปู่เจ้าย่า” สร้างในกรรมการสมัยที่ 41 (พ.ศ. 2534) โดยภายในศาลจะมีรูปบูชา “เจ้าปู่เจ้าย่า” อยู่ภายในซึ่งลูกหลานชาวอุดรส่วนใหญ่จะมากราบไหว้เพื่อขอพรในความเป็นสิริมงคลอยู่เสมอ ในความเชื่อเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ได้ชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มากขอสิ่งใดมักสมปราถนาตามที่ขออยู่เสมอ สิ่งศักดิ์สิทธิ์แห่งที่สาม คือ ศาลเจ้าพ่อหนองบัว เนื่องจากที่ตั้ง ของ ศาลเจ้าปู่ย่านั้น ตั้งอยู่ริมหนองบัวหรือในปัจจุบันมีการสร้างสวนสาธารณะหนองบัวขึ้นวึ่งก็ได้มีการอัญเชิญเจ้าพ่อหนองบัวมาสถิตย์อยู่ภายในบริเวญศาลเจ้าปู่ย่า ตามความเชื่อตั้งแต่การก่อตั้งศาลเจ้าปู่ย่าขึ้นใหม่ ๆ สิ่งศักดิ์สิทธิ์แห่งที่สี่ คือ “ตี่จู๋เอี๊ย” หรือ ชื่อภาษาไทย คือ เจ้าที่เจ้าทางซึ่งก็คือสิ่งศกดิ์สิทธิ์ที่คอยปกปักรักษาดูแลสถานที่นั้น ๆ ได้แก่บริเวณศาลเจ้าปู่ย่า และ บริเวณหนองบัวนั่นเอง สิ่งศักดิ์สิทธิ์แห่งที่ห้า คือ พระสังกัจจายน์ ซึ่งได้ขุดพบใต้ต้นไทรในบริเวณศาลเจ้าปู่-ย่า เมื่อ พ.ศ. 2530 (คณะกรรมการสมัยที่ 37) สิ่งศักดิ์สิทธิ์แห่งที่หก คือ “ฉั่งง่วนส่วย” เป็นองค์เทพที่เชี่ยวชาญในการปราชญ์เป็นอย่างยิ่ง เป็นที่นิยมสักการะของนักเรียน นักศึกษา ในการจะไปสมัครสอบครั้งสำคัญแต่ละครั้ง